การสร้างลิสต์รายการ

การสร้างลิสต์รายการ

การสร้างลิสต์รายการ คือ การนำเสนอข้อมูลอีกรูปแบบเพื่อช่วยยกข้อมูลที่เป็นประเด็นมาจัดเป็นรายการหรือลิสต์

1. การสร้างลิสต์แบบไม่มีลำดับ

ลิสต์แบบไม่เรียงลำดับ (Unordered List) เป็นลิสต์ที่เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประเด็นสั้น ๆ ไม่ต้องการของตัวเลข หรือตัวอักษรให้ยุ่งยาก

รูปแบบการใช้แท็ก <ul>

<ul>

<li>รายการ1</li>
<li>รายการ2</li>

</ul>

การกำหนดรายละเอียดแอตทริบิวต์ type

<ul type=“ชนิดเครื่องหมาย”>
<li type=“ชนิดเครื่องหมาย”>

ค่าที่กำหนด  ชนิดของเครื่องหมายหน้าลำดับ เช่น disc, circle, และ square

li2

หากไม่มีการกำหนดชนิดของเครื่องหมายหน้ารายการจะแสดงวงกลมทึบเป็นเครื่องหมายปกติ

ตัวอย่างการกำหนดเครื่องหมายให้กับลิสต์แบบไม่มีลำดับ

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การกำหนดเครื่องหมายให้กับลิสต์แบบไม่มีลำดับ</title>

</head>

<body>

<ul type=”circle”>สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

<li type=”disc”>วัดพระธาตุลำปางหลวง</li>

<li type=”square”>วัดไหล่หินหลวง</li>

<li>วัดพระธาตุจอมปิง</li>

</ul>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

1

2. การสร้างลิสต์แบบมีลำดับ

ลิสต์แบบเรียงลำดับ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลรายการแบบมีตัวเลข ตัวอักษร ซึ่งลิสต์แบบนี้นำมาใช้เพื่อบอกให้ทราบลำดับของข้อมูลที่นำเสนอ

รูปแบบการใช้งานแท็ก <ol>

<ol>

<li>รายการ1</li>
<li>รายการ2</li>

</ol>

การกำหนดชนิดของตัวจัดลำดับ

<ul type=“ชนิดของลำดับ”>

ค่าที่กำหนด  ชนิดของลำดับหน้าหัวข้อ เช่น A, a, I (ไอตัวใหญ่), i และ 1


ชนิดของตัวจัดอันดับ
li5

ตัวอย่างการกำหนดเครื่องหมายให้กับลิสต์แบบมีลำดับ

 

<html>

<head>

<title>การกำหนดเครื่องหมายให้กับลิสต์แบบมีลำดับ</title>

</head>

<body>

<ol type=”1″>สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

<li>วัดพระธาตุลำปางหลวง</li>

<li>วัดไหล่หินหลวง</li>

<li>วัดพระธาตุจอมปิง</li>

</ol>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้
2

การกำหนดลำดับเริ่มต้นให้กับข้อมูล

<ol start=“ตัวเลข”> และ <li value=“ตัวเลข”>

ค่าที่กำหนด  เป็นการกำหนดเลขเริ่มต้นของลำดับ

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>

<head>

<title>การกำหนดเลขเริ่มต้นของลำดับ</title>

</head>

<body>

5 อับดับหนังสือขายดีประจำร้าน

<ol>หมวดคอมพิวเตอร์

<li>Photoshop CS5</li>

<li>เรียนลัดการสร้างเว็บ</li>

<li>การสร้างงานนำเสนอ</li>

</ol>

<ol start=”4″>หมวดทั่วไป

<li>ชีวิตยิ่งกว่าละคร</li>

<li>ความฝันของนายโข่ง</li>

</ol>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

3

3. การสร้างลิสต์แบบแบบจำกัดความ 

ลิสต์แบบจำกัดความ (Definition List) มักถูกนำไปใช้กับการจำกัดความ โดยมีการแบ่งลิสต์เป็น 2 ส่วน เช่น พจนานุกรม ส่วนแรก คือ คำศัพท์  ส่วนที่สอง คือ คำจำกัดความ จะเยื้องไปหลังคำศัพท์

รูปแบบการใช้งานแท็ก <dl>

<dl>

<dt>คำศัพท์</dt>
<dd>ความหมาย</dd>
<dt>คำศัพท์</dt>
<dd>ความหมาย</dd>

</dl>

 

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>

<head>

<title>การสร้างลิสต์แบบแบบจำกัดความ</title>

</head>

<body>

<dl>อธิบายคำศัพท์อินเทอร์เน็ต

<dt>HTTP</dt>

<dd>โพรโตคอลในการสืบค้นข้อมูล</dd>

<dt>FTP</dt>

<dd>โพรโตคอลในการโอนย้ายไฟล์ข้อมูล</dd>

</dl>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

6

4. การสร้างลิสต์ซ้อนลิสต์

การสร้างลิสต์แบบซ้อนกันมีประโยชน์ในการนำเสนอข้อมูลที่มีหัวข้อย่อย หรือขั้นตอนมาก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตั้งโจทย์คำถามที่คำตอบยาก ๆ ได้

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>

<head>

<title>การสร้างลิสต์ซ้อนลิสต์</title>

</head>

<body>

<ol>

<li>จังหวัดใดอยู่ในภาคเหนือตอนบน</li>

<ol type=”a”>

<li>เชียงใหม่</li>

<li>เพชรบูรณ์</li>

<li>ตาก</li>

<li>สุโขทัย</li>

</ol>

<li>จังหวัดใดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง</li>

<ol type=”a”>

<li>เชียงใหม่</li>

<li>เพชรบูรณ์</li>

<li>ลำปาง</li>

<li>พะเยา</li>

</ol>

</ol>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

7

 

อ้างอิง

  • รูปภาพจากอิดิเตอร์ Notepad
  • การสร้างเว็บและเพิ่มลูกเล่นด้วย HTML และ XHTML เขียนโดย นายประชา  พฤกษ์ประเสริฐ  สำนักพิมพ์ซิมพลิฟาย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

อ้างอิง

เนื้อหาและรูปภาพ จาก : หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

รูปภาพประกอบเพิ่มเติม จาก : เว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต

เฉลยใบงาน การจัดรูปแบบข้อความ

คำสั่ง

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>การจัดการหน้าเอกสารและข้อความ</title>
</head>
<body bgcolor=”pink”>
<center><b><h4><u><font color=”brown”>การสื่อสารข้อมูล (Clean Technology : CT)</font></u></h4></b></center>
<hr size=”2″ width=”50%” align=”center” color=”violet” />
<font color=”green”><b><font color=”blue”>การสื่อสารข้อมูล</font></b> หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งโดยผ่าน ช่องทางสื่อสาร
เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน</font><br />
<b>1. ข้อมูล/ข่าว สาร (data/message) </b> คือข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ ที่ต้องการส่งไปยังผู้รับโดยข้อมูล/ข่าวสารอาจประกอบด้วยข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วีดีทัศน์ หรือสื่อประสม<br />
<b>2. ผู้ส่ง (Sender)</b> คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูล/ข่าวสาร ซึ่งอาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวีดีทัศน์ เป็นต้น<br />
<b>3. ผู้ รับ (Receiver) </b> คือ คนหรืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข้อมูล/ข่าวสารที่ทางผู้ส่งข้อมูลส่งให้ซึ่ง อาจเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น<br />
<b>4. สื่อกลางในการส่งข้อมูล (Transmission media) </b> คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลข่าวสารไปยังจุดหมายปลายทาง โดยการสื่อกลางในการส่งข้อมูลจะมีทั้งแบบมีสาย เช่น สายเคเบิล สายยูทีพี สายไฟเบอร์ออพติก และสื่อกลางในการส่งข้อมูลแบบไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ และดาวเทียม<br />
<b>5. โพรโทคอล (Protocol) </b>คือ กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติต่างๆ ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นข้อตกลงในการสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่ง
<hr size=”2″ width=”50%” align=”center” color=”blue” />
</body>
</html>

ผลลัพธ์

f1

ใบงาน การจัดการข้อความ

คำชี้แจง

  1. ให้นักเรียนจัดรูปแบบเว็บเพจต่อไปนี้
  2. สร้างโฟลเดอร์ชื่อ html_ชั้น  เช่น  html501  ไว้ใน Drive D:
  3. สร้างโฟลเดอร์เก็บงาน ชื่อ format_ชั้น_เลขที่  เช่น  format_501_11  ไว้ในโฟลเดอร์ html501
  4. บันทึกเว็บเพจว่า format.html

f1

การจัดการข้อความ

1. การกำหนดรูปแบบหัวเรื่อง <hn>

การกำหนดรูปแบบหัวเรื่องเป็นการกำหนดขนาดตัวอักษรให้แตกต่างกันเพื่อแยกแต่ละหัวเรื่องอย่างชัดเจนสำหรับเอกสารที่มีหลาย ๆ หัวเรื่อง จากลำดับหัวเรื่องใหญ่ไปหัวเรื่อง ซึ่งสามารถกำหนดขนาดหัวเรื่องได้ 6 ระดับ ดังนี้

ชื่อแท็ก                                        hn (n มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 6)
รูปแบบในภาษา HTML      
<hn>หัวเรื่อง</hn>

ตัวอย่างการใช้แท็ก

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>การกำหนดหัวเรื่อง</title>
</head>
<body>
<h1>Heading</h1>
<h2>Heading</h2>
<h3>Heading</h3>
<h4>Heading</h4>
<h5>Heading</h5>
<h6>Heading</h6>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

k1

2. การกำหนดลักษณะตัวอักษร

การกำหนดลักษณะตัวอักษรในเว็บเพจนั้น มีอยู่ 2 วิธี  ได้แก่

  • แบบ Physical  เป็นการกำหนดรูปแบบตัวอักษรอย่างเจาะจง
  • แบบ Logical ที่ผู้ใช้บราวเซอร์สามารถกำหนดรูปแบบตัวอักษรได้ด้วยตัวเอง

การกำหนดลักษณะตัวอักษรแบบ Physical

ชี่อแท็ก รูปแบบแท็ก  HTML ตัวอย่าง
Bold (ตัวหนา) <b>…..</b> This is Bold
Italic (ตัวเอียง) <i>…..</i> This is Italic
Underline (ขีดเส้นใต้) <u>…..</u> This is Underline
Strike (ขีดฆ่า) <s>…..</s> This is Strike
Typewriter Text (ตัวพิมพ์ดีด) <tt>…..</tt> This is Typewriter Text
Superscript (ตัวอักษรยก) <sup>…..</sup> This is Superscript
Subscript (ตัวอักษรห้อย) <sub>…..</sub> This is Subscript
Big (ตัวอักษรขนาดใหญ่) <big>…..</big> This is big
Small (ตัวอักษรขนาดเล็ก) <small>.….</small> This is small
Delete (ขีดฆ่า) <del>…..</del> This is Delete
Insert (ขีดเส้นใต้เป็นสัญลักษณ์) <ins>…..</ins> This is Insert
หมายเหตุ  แท็ก sup, sub, small, big สามารถซ้อนกันได้ เพื่อให้การกำหนดค่ามีมากกว่าเดิม

เช่น <big><big>Big</big></big>

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>การจัดการหน้าเอกสารและข้อความ</title>
</head>
<body bgcolor=”yellow”>
<center><u><b><h3>การสื่อสารข้อมูล</h3></b></u></center>
<hr width=”50%” color=”green” align=”center” />
<b>การสื่อสารข้อมูล</b> <i>หมายถึง</i> กระบวนการถ่ายโอน<sup>หรือ</sup>แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้รับ<sub>และ</sub>ผู้ส่งโดยผ่าน ช่องทางสื่อสาร
<s>เช่น</s> <big>อุปกรณ์</big>อิเล็กทรอนิกส์หรือ<small>คอมพิวเตอร์</small>เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

format

การกำหนดลักษณะตัวอักษรแบบ Logical

การกำหนดลักษณะตัวอักษรแบบ Logical นั้น เป็นการกำหนดรูปแบบตัวอักษรตามความหมายของข้อความนั้น

ชี่อแท็ก รูปแบบแท็ก  HTML ตัวอย่าง
Emphasis(ใช้เน้นข้อความคำพูดหรือวลี) <em>…..</em> Emphasis
Strong(ข้อความที่สำคัญมาก) <strong>…..</strong> Strong
Computer Code(ข้อความเป็นโค้ดโปรแกรม) <code>…..</code> Computer Code
Citations(ข้อความที่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของเนื้อหา) <cite>…..</cite> Citations
Definition(ข้อความที่เป็นคำนิยาม) <dfn>…..</dfn> Definition
Keyboard(ข้อความที่เหมือนแป้นพิมพ์) <kbd>…..</kbd> Keyboard
Samples(ข้อความที่เหมือนแป้นพิมพ์) <samp>…..</samp> Samples
Variable Name(ใช้เน้นข้อความที่ถูกเปลี่ยนแปลง) <var>…..</var> Variable Name
Example(ให้แท็ก html ปรากฏบนหน้าจอเว็บเพจ) <xmp>.….</xmp> Example
Address(กำหนดข้อความให้กับชื่อและที่อยู่) <address>…..</address> address
Abbreviate(ใช้แสดงชื่อย่อ) <abbr>…..</abbr> Abbreviate
Acronym(กำหนดคำย่อจากอักษรแรกของแต่ละคำ) <acronym>…..</acronym> Acronym
Bi-directional algorithm(ตัวอักษรเขียนย้อนกลับ) <bdo>…..</bdo>
Blockquote(กำหนดรูปแบบข้อมูลที่อ้างอิงจากที่อื่น) <blockquote>..</blockquote>
Quote(กำหนดรูปแบบของข้อมูลที่อ้าวอิงจากที่อื่นแบบสั้น) <q>…..</q> Quote
หมายเหตุ 1แท็ก bdo จะมีแอตทริบิวต์ชื่อ dir=“rtl” และจะมีการใส่ “rtl” (right to left เขียนจากขวามาซ้าย) และ “ltr” (left to right เขียนจากซ้ายมาขวา)ตัวอย่างเช่น <bdo dir=“rtl”>Bi-directional algorithm</bdo>หมายเหตุ 2

       แท็ก abbr และ acronym จะมีการใช้เหมือนกัน คือ การกำหนดชื่อเต็มของคำย่อ เช่น <acronym title=“World Wide Web”>WWW</acronym> ผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเอาเมาส์ไปวางจะปรากฏชื่อเต็มขึ้นมา

ถึงแม้ทั้ง 2 แท็กจะใช้เหมือนกันแต่จะต้องเลือกใช้ตามกรณี คือ แท็ก abbr จะใช้สำหรับคำย่อของคำ หรือกลุ่มคำ เช่น กทม. คือ กรุงเทพมหานคร  ส่วน acronym จะเป็นคำย่อที่เกิดจากพยัญชนะของแต่ละคำมาต่อกัน เช่น WWW คือ World Wide Web, IOU คือ I love you เป็นการดีงอักษรของแต่ละคำมาสร้างคำย่อ

ที่จริงเราสามารถใช้แท็ก abbr และ acronym แทนกันได้ แต่ถ้าให้ควรเลือก acronym เพราะ abbr ไม่สามารถแสดงผลบราวเซอร์ IE

 

3. การเปลี่ยนขนาดตัวอักษร

การเปลี่ยนขนาดตัวอักษรเป็นการปรับเปลี่ยนหน้าเว็บเพจให้มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีรูปแบบดังนี้

ชื่อแอตทริบิวต์                                size
รูปแบบในภาษา HTML            
<font size=“”>ข้อความ</font>
ค่าที่กำหนดให้ใช้                          ขนาดตัวอักษร n ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 7

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>ขนาดตัวอักษร</title>
</head>
<body>
<font size=”7″>Font size=7</font><br />
<font size=”6″>Font size=6</font><br />
<font size=”5″>Font size=5</font><br />
<font size=”4″>Font size=4</font><br />
<font size=”3″>Font size=3</font><br />
<font size=”2″>Font size=2</font><br />
<font size=”1″>Font size=1</font><br />
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

k10

ตัวอักษรปกติ (ปกติอยู่ที่ 3) ให้มีขนาดใหญ่ (+) และเล็กลง (-) แต่ต้องไม่เกินตัวอักษรปกติ คือ 1 ถึง 7 มีรูปแบบการใช้งานดังนี้

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>ขนาดตัวอักษร</title>
</head>
<body>
<font size=”5″>ข้อความมีขนาดเท่ากับ 5</font><br />
<font size=”+2″>ข้อความมีขนาดใหญ่ขึ้น 2 ระดับ</font><br />
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

k11

4. การกำหนดรูปแบบตัวอักษร

ชื่อแอตทริบิวต์                                face
รูปแบบในภาษา HTML             
<font face=“ชื่อฟอนต์”>ข้อความ</font>
ค่าที่กำหนดให้ใช้                           ชื่อฟอนต์ที่ต้องการใช้งาน

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>รูปแบบตัวอักษร</title>
</head>
<body>
<font face=”A “>รูปแบบตัวอักษร AngsanaNEW</font><br />
<font face=”TH SarabunPSK”>รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK</font><br />
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

k12

หมายเหตุ หากเครื่องใดไม่มีฟอนต์ดังกล่าวจะทำให้การแสดงผลผิดพลาด ดังนั้นเราควรใช้ฟอนต์ที่มีในทุกเครื่อง หรือฟอนต์มาตรฐาน

 

5. คำสั่งเว้นวรรคข้อความ

&nbsp; (Non Breaking Space) เป็นคำสั่งช่วยให้เว้นวรรคระหว่างข้อความ เพราะปกติบราวเซอร์จะแสดงช่องว่างจากการเคาะ Space Bar เพียงช่องเดียว แม้นว่าผู้สร้างจะเคาะไปหลายครั้งก็ตาม

&nbsp; นี้เป็นหนึ่งในจำนวนรหัสใช้แทนอักษรพิเศษ ในภาษา HTML ซึ่งใช้ประโยชน์สำหรับแทนตัวอักษรที่มีความหมาย

 

6. ตัวอักษรพิเศษ

ตัวอักษรพิเศษ คือ ตัวอักษรที่ไม่มีบนแป้นพิมพ์จึงต้องใช้วิธีการเรียกใช้ โดยการใช้รหัสหรือโดยการเรียกโดยใช้ชื่อ

ตัวอักษรพิเศษ คำอธิบาย
&#[ASCII CODE]; สั่งให้แสดงสัญลักษณ์ที่เราต้องการออกมาบนหน้าจอด้วยรหัส ASCII
&lt; เครื่องหมาย < (less than)
&gt; เครื่องหมาย > (greater than)
&amp; เครื่องหมาย & (ampersand)
&quot; เครื่องหมาย “
&copy; เครื่องหมายลิขสิทธิ์ © (Copyrights)
&reg; เครื่องหมายทะเบียนการค้า ® (Registered)
เครื่องหมายทะเบียนการค้า ™
&yen; เครื่องหมาย ¥ (Yen)
&euro; เครื่องหมาย €(Euro)
&cent; เครื่องหมาย ¢(Cent)
&deg; เครื่องหมาย Degrees
&divide; เครื่องหมายหาร ÷

 

7. การตกแต่งสีสันเว็บเพจ

เราสามารถกำหนดค่าสีได้ 2 แบบ คือ

1. สี=”#xxxxxx” ระบุเป็นเลขฐาน 16 (0-9 หรือ A-F โดย 0 มีค่าสีน้อยที่สุด และ F มีค่าสีมากที่สุด) ทั้งหมด 3 ชุด 1 ชุดแทนด้วยตัวอักษร 2 ตัว แสดงค่าของแม่สี แดง เขียว นํ้าเงิน (RGB) โดยเขียนตามหลังเครื่องหมาย # เช่น”#FFFFFF” จะให้ สีขาว ,”#000000″ จะให้ สีดำ

สี รหัสสี
ขาว #FFFFFF
ดำ #000000
เทา #BBBBBB
แดง #FF0000
เขียว #00FF00
น้ำเงิน #0000FF

2. สี=color ระบุสีลงไปเลย เช่น AQUA, BULE, GRAY, LIME, NAVY, PURPLE, SILVER, WHITE (สีขาว), BLACK, FUCHSIA, GREEN, MAROON, OLTVE, RED, TEAL, YELLOW

 

8. การกำหนดสีพื้นหลังและสีตัวอักษร

ชื่อแอตทริบิวต์                                bgcolor (สีพื้นหลัง) และ Text (สีตัวอักษรทั้งเว็บเพจ)
รูปแบบในภาษา HTML             
<body bgcolor=“รหัสสี/ชื่อสี” Text=“รหัสสี/ชื่อสี”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้                           รหัสสีเลขฐาน 16 เช่น “#FFFFFF”, #FF0000   ชื่อสีมาตรฐาน เช่น blue, pink

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>การตกแต่งด้วยสี</title>
</head>
<body bgcolor=”#FFE4A4″ text=”blue”>
การทดลองการใส่สีพื้นหลังและสีตัวอักษร
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

k13

9. การกำหนดสีตัวอักษรเฉพาะที่

รูปแบบในภาษา HTML       <font color=“รหัสสี/ชื่อสี”>…</font>
ค่าที่กำหนดให้ใช้                     รหัสสีเลขฐาน 16 เช่น “#FFFFFF”, #FF0000   ชื่อสีมาตรฐาน เช่น blue, pink

ตัวอย่างการใช้งาน

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>การตกแต่งด้วยสี</title>
</head>
<body>
<font color=”#0000FF”>การกำหนดสีตัวอักษรสีน้ำเงิน</font> <br />
<font color=”red”>การกำหนดสีตัวอักษรสีชมพู</font>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

k14

10. การกำหนดสีตัวอักษรที่เป็นจุดคลิกเมาส์

รูปแบบLINK=”#รหัสสี” ALINK=”#รหัสสี” VLINK”#รหัสสี”
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR=”000000″ TEXT=”#F0F0F0″ LINK=”#FFFF00″ ALIGN=”#0077FF” VLINK=”#22AA22″>
กำหนดอยู่ในส่วนของ BODY โดยกำหนดให้
LINK = สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
ALIGN = สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
VLINK = สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว

 

11. การกำหนดตัวอักษรวิ่ง <marquee>

ชื่อแท็ก                                        marquee
รูปแบบของแท็ก                       
<marquee>ข้อความ</marquee>

การกำหนดแอตทริบิวต์เพิ่มเติมให้กับแท็ก marquee

scroll คือ ให้ข้อความวิ่งจากขวามาซ้าย เมื่อถึงขอบซ้าย ก็ให้ข้อความวิ่งออกมาจากขวาใหม่ (เป็นค่าปกติถ้าไม่มีการกำหนดอะไรจะได้แบบนี้)การกำหนดรูปแบบการวิ่งของข้อความ มี 3 รูปแบบ ดังนี้

slide คือ ให้ข้อความวิ่งจากขวามาซ้าย เมื่อถึงขอบซ้ายแล้วจะหยุดนิ่งไม่วิ่งไปไหนอีก

alternate คือ ให้ข้อความวิ่งจากขอบซ้ายมาขอบขวา เมื่อถึงขอบขวาก็ให้วิ่งกลับไปทางซ้าย วิ่งกลับไปกลับมา

directionกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ ดังนี้

¨    Left     ด้านซ้าย

¨    Right    ด้านขวา

¨    Up       ด้านบน

¨    Down   ด้านล่าง

width  กำหนดความกว้างของกรอบ marquee  กำหนดค่าแบบเจาะจง (pixel) หรือเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบจากบราวเซอร์

height  กำหนดความสูงของกรอบ marquee  กำหนดค่าแบบเจาะจง (pixel) หรือเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบจากบราวเซอร์

hspace  กำหนดระยะห่างของข้อความที่เคลื่อนไหวและกรอบทางด้านซ้ายและด้านขวา

vspace  กำหนดระยะห่างของข้อความที่เคลื่อนไหวและกรอบทางด้านบนและด้านล่างloopกำหนดจำนวนรอบการวิ่ง

scrollamount=n  กำหนดระยะเวลาในการขยับข้อความ (ยิ่งมาก ข้อความจะขยับไปไกลในแต่ละครั้ง)

scrolldelay=n  กำหนดเวลารอเป็นหน่วย Milliseconds (ยิ่งมาก ข้อความจะรอนานกว่าจะขยับแต่ละครั้ง)

bgcolor=”รหัสสี/ชื่อสี”  กำหนดสีพื้นหลังของกรอบอักษรวิ่ง กำหนดเป็นรหัสสีหรือชื่อสี เช่น bgcolor=“#FFCCCC”, bgcolor=“green”

onmouseOver=”this.stop()”  กำหนดให้เมื่อนำเมาส์มาชี้ให้หยุดวิ่ง

onmouseOut=”this.start()”  กำหนดให้เมื่อเอาเมาส์ออกจากกรอบอักษรวิ่งให้วิ่งต่อ หากต้องการให้เมื่อเอาเมาส์มาชี้แล้วให้วิ่ง เมื่อเอาเมาส์ออกให้หยุด ก็สามารถทำได้โดยสลับค่าระหว่าง “this.stop()” กับ “this.start()”

ตัวอย่างการทำอักษรวิ่ง

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>การตกแต่งด้วยสี</title>
</head>
<body>
<marquee>การทำอักษรวิ่ง</marquee>
<marquee behavior=”scroll” direction=”up” width=”400″ height=”100″ bgcolor=”#F5F5F5″ scrolldelay=”10″ scrollamount=”5″ onmouseOver=”this.stop()” onmouseOut=”this.start()”>ข้อความวิ่งที่มีการกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติม</marquee>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

k15

อ้างอิง

  • รูปภาพจากอิดิเตอร์ Notepad
  • การสร้างเว็บและเพิ่มลูกเล่นด้วย HTML และ XHTML เขียนโดย นายประชา  พฤกษ์ประเสริฐ  สำนักพิมพ์ซิมพลิฟาย

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล

อ้างอิง

เนื้อหาและรูปภาพ จาก : หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

รูปภาพประกอบเพิ่มเติม จาก : เว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต

การจัดวางเนื้อหาบนเว็บ

โดยปกติเมื่อเราเขียนข้อมูลต่าง ๆ ใน Text Editor เมื่อนำไปแสดงผลที่บราวเซอร์จะไม่เหมือนกับรูปแบบที่เราเขียนใน Text Editor เพราะว่าการจัดรูปแบบเอกสารต้องใช้คำสั่งภาษา HTML เพื่อกำหนดให้เอกสารมีรูปแบบตามต้องการ เมื่อแสดงผลในเว็บบราวเซอร์

1. การตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่<br />

แท็ก <br /> เป็นคำสั่งที่กำหนดจุดสิ้นสุดของบรรทัด (break rule) แล้วทำการขึ้นบรรทัดใหม่เพื่อแสดงข้อความส่วนที่เหลือในบรรทัดถัดไป คำสั่งนี้จึงให้ผลเสมือนการกดคีย์ ENTER บนคีย์บอร์ดนั่นเอง

ข้อสังเกต

แท็ก <br /> ส่วนใหญ่มักนิยมจะวางไว้ในตำแหน่งสุดท้ายของประโยค โดยต้องการให้แสดงผลประโยคใหม่ในบรรทัดต่อมา

ตัวอย่างการใช้แท็ก <br />

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การตัดคำขึ้นบรรทัดใหม่</title>

</head>

<body>

<body>

การใช้งานคำสั่ง br  <br />ซึ่งเป็นคำสั่งที่ทำให้ข้อความขึ้นบรรทัดใหม่

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p1

2. การตัดคำขึ้นย่อหน้าใหม่ <p>

แท็ก <p> เป็นแท็กที่สั่งให้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ขึ้นย่อหน้าใหม่ (paragraph) โดยจะมีการเว้นบรรทัดว่างไว้ 1 บรรทัด

รูปแบบแท็ก  

<p>ข้อความที่ต้องการขึ้นย่อหน้าใหม่</p>

ตัวอย่างการใช้งานแท็ก <p>

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การตัดคำขึ้นย่อหน้าใหม่</title>

</head>

<body>

การใช้งานคำสั่ง p <p>ซึ่งเป็นคำสั่งที่ทำให้ข้อความขึ้นย่อหน้าใหม่</p>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p2

ข้อสังเกต
จะเห็นได้ว่าการขึ้นบรรทัดใหม่ของคำสั่ง <br> และ <p> นั้น การเว้นว่างระหว่างบรรทัดของทั้งสองมีความแตกต่างกัน โดยที่คำสั่ง <br> ช่องว่างระหว่างบรรทัดจะน้อยกว่าคำสั่ง <p>

 

3. การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้า

เราสามารถจัดเรียงข้อความในแต่ละย่อหน้าของเว็บเพจได้  โดยการกำหนดตำแหน่งในแอตทริบิวต์ align (Alignment) ของแท็ก p ดังนี้

รูปแบบของแท็ก  <p align= “ตำแหน่ง”>ข้อความ</p>
ค่าที่กำหนด           ตำแหน่งของการจัดวางข้อความได้แก่ left (ซ้าย), center (ตรงกลาง), right (ขวา) และ justify (จัดเต็มพื้นที่)

ตัวอย่างการใช้งานแท็ก

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การจัดตำแหน่งการตัดคำขึ้นย่อหน้าใหม่</title>

</head>

<body>

<p align=”left”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าด้านซ้าย</p>

<p align=”center”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าตรงกลาง</p>

<p align=”right”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าด้านขวา</p>

<p align=”justify”>การจัดวางตำแหน่งข้อความในย่อหน้าแบบจัดเต็มพื้นที่ ซึ่งข้อความจะมีลักษณะเท่ากันทั้งด้านซ้ายและด้านขวา</p>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p3

4. การจัดวางตำแหน่งข้อความให้อยู่กึ่งกลาง <center>

รูปแบบของแท็ก  <center>ข้อความ</center>

5. การจัดรูปแบบเอกสารตามที่กำหนด <pre>

เป็นการกำหนดให้แสดงข้อความที่อยู่ในย่อหน้าที่อยู่ในชุดคำสั่งดังกล่าว เหมือนกับที่พิมพ์ไม่ว่าจะเป็นการเว้นวรรค หรือขึ้นบรรทัดใหม่ แต่จะบังคับใช้ fixed width fonts

รูปแบบแท็ก  <pre>ข้อความ</pre>

ตัวอย่างการใช้แท็ก pre (Preformatted)

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การใช้แท็ก pre (Preformatted)</title>

</head>

<body>

<pre>ข้อดีของ HTML คือ

สามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบปฏิบัติการได้หลากหลายชนิด

</pre>

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p4

6. การสร้างเส้นคั่น<hr>

แท็ก <hr> เป็นแท็กที่แสดงเส้นขีดคั่นทางแนวนอน (horizontal rule) โดยอาจใช้เป็นเส้นแบ่งเนื้อหาระหว่างบท หรือเป็นเส้นขีดคั่นเพื่อความสวยงามและเป็นระเบียบของเนื้อหา เป็นการกำหนดเส้นคั่นซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ต้องมีคำสั่งปิด (Single Tag)

รูปแบบแท็ก  

<hr /> (เป็นแท็กว่างต้องปิดแท็กด้วย / หลังจากแท็กคำสั่ง)

แอตทริบิวต์ (Attribute) คำอธิบาย รูปแบบการใช้งาน
width กำหนดความยาวของเส้นคั่น มีหน่วยเป็นพิกเซล หรือ % <hr width=“50” /> หรือ
<hr width=“50%” />
size กำหนดความหนาของเส้นคั่น มีหน่วยเป็นพิกเซล หรือ % <hr size=“50”> หรือ
<hr size=“50%”>
noshade กำหนดให้เส้นคั่นเป็นเส้นทึบ <hr noshade=“noshade”>
align กำหนดตำแหน่งของเส้นคั่นให้ตำแหน่งของการจัดวางข้อความได้แก่ left (ซ้าย), center (ตรงกลาง) right (ขวา) <hr align=“left” />
<hr align=“right” />
<hr align=“center” />
color การระบุสีเส้นคั่น แสดงผลเฉพาะ IE โดยสามารถใส่ชื่อสีหรือ #รหัสสีอย่างใดอย่างหนึ่ง <hr color=“red” /> หรือ
<hr color=“#f0f8ff” />

ตัวอย่างการใช้แท็ก hr (Horizontal Rule)

<!DOCTYPE HTML>

<html>

<head>

<title>การใช้แท็ก hr (Horizontal Rule)</title>

</head>

<body>

<body>

เส้นคั่นยาว=50% ความหนา=5 พิกเซล ตำแหน่ง=ซ้าย สีเส้นคั่น=สีแดง เส้นทึบ

<hr width=”50%” size=”5″ align=”left” color=”red” noshade=”noshade” />

<div align=”right”>เส้นคั่นยาว=50% ความหนา=5 พิกเซล ตำแหน่ง=ขวา สีเส้นคั่น=สีเหลือง เส้นทึบ</div>

<hr width=”50%” size=”5″ align=”right” color=”yellow” noshade=”noshade” />

<div align=”center”>เส้นคั่นยาว=50% ความหนา=5 พิกเซล ตำแหน่ง=ขวา สีเส้นคั่น=สีน้ำเงิน เส้นทึบ</div>

<hr width=”50%” size=”5″ align=”center” color=”blue” noshade=”noshade” />

</body>

</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

p5

อ้างอิง

  • รูปภาพจากอิดิเตอร์ Notepad
  • การสร้างเว็บและเพิ่มลูกเล่นด้วย HTML และ XHTML เขียนโดย นายประชา  พฤกษ์ประเสริฐ  สำนักพิมพ์ซิมพลิฟาย

เฉลยใบงาน การจัดรูปแบบหน้าเอกสาร

<!DOCTYPE HTML>
<html>
<head>
<title>การจัดรูปแบบหน้ากระดาษ</title>
</head>
<body>
<center><h3>การสื่อสารข้อมูล</h3></center><br />
<hr size=”5″ width=”50%” color=”green” align=”center” /> <br />
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้<br />
<br />1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล คือ สามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบดีเอส แอล (Digital Subscriber Line: DSL)
<br />2. ความถูกต้องของข้อมูล คือ การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงมีความเชื่อถือได้สูง
<br />3. ความเร็วของการรับส่งข้อมูล คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้ อย่างรวดเร็ว เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต
<br />4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล คือ การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice over IP: V๐IP) จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมล์ส่งข้อมูลหรือเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่าย ต่ำกว่า และรวดเร็วกกว่าการส่งเอกสารด้วยวิธีอื่น
<br />5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร คือ องค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์
<br />6. ความสะดวกในการประสานงาน คือ องค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เช่น ประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย
<br />7. ขยายบริการขององค์กร คือ องค์กรสามารถกระจายที่ทำการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารมีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น
<br />8. การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย คือ การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่นการซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น
<hr size=”2″ width=”50%” color=”blue” align=”right” /> <br />
<hr size=”3″ width=”50%” color=”pink” align=”left” /> <br />
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

f1