ใบงาน การแทรกรูปภาพ

คำสั่ง

  1. ให้นักเรียนสร้างเว็บเพจจำนวน 1 เว็บเพจ เรื่อง สื่อกลางแบบใช้สาย
  2. กำหนดรูปแบบหน้ากระดาษ ข้อความ สีตัวอักษร และอื่น ๆ ตามต้องการ
  3. สร้างโฟลเดอร์ pic เพื่อเก็บรูปภาพ ใน Drive D:/htmlห้องของตัวเอง_เลขที่
  4. ให้แทรกรูปภาพพื้นหลังและรูปภาพประกอบเนื้อหา
  5. บันทึกงานใน Drive D:/htmlห้องของตัวเอง_เลขที่
  6. บันทึกเว็บเพจว่า Tpic.html

 

สื่อกลางแบบใช้สาย

1) สายคู่บิดเกลียว (twister pair cable) สายนำสัญญาณแบบนี้แต่ละคู่สายที่เป็นสายทองแดงจะถูกพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างคู่สายข้างเคียงภายในสายเดียวกันหรือจากภายนอก ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลจำนวนมากเป็นระยะทางไกล ได้หลายกิโลเมตร เนื่องจากมีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี น้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง จึงนิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างสายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิด คือ

– สายคู่บิดเกลียวแบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายยูทีพี (Unshielded Twisted Pair: UTP) เป็นสายใช้ในระบบโทรศัพท์ ต่อมาได้มีการปรับปรุงคุณสมบัติให้ดีขึ้น จนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ ทำให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น

– สายคู่บิดเกลียวแบบป้องกันสัญญาณรบกวน หรือสายเอสทีพี (Shielded Twisted Pair: STP) เป็นสายที่หุ้มด้วยตัวกั้นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวนได้ดียิ่งขึ้น สายเอสทีพีรองรับความถี่ของการส่งข้อมูลสูงกว่าสายยูทีพี แต่มีราคาแพงกว่า

ในปัจจุบันการติดตั้งสายสัญญาณภายในอาคารนิยมใช้สายยูทีพีเป็นหลัก เพราะมีราคาถูกกว่าสายเอสทีพี และมีการพัฒนามาตรฐานให้มีคุณภาพสูงสามารถส่งข้อมูลความเร็วสูงได้ดีขึ้น

4image12

2) สายโคแอกซ์ (coaxial cable) เป็นสายนำสัญญาณที่เรารู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวนเพื่อป้องกัน กระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อกเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ภาพและเสียง (audio-video devices) ต่างๆ ภายในบ้านและสำนักงาน

4image13

3) สายไฟเบอร์ออพติก (fiber-optic cable) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นใยทำจากแก้วหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผล แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core) ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง (cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาด

4image14

การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่งแต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้แสงความเข้มสูง เช่น แสงเลเซอร์ส่งผ่านไปในเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้แคล็ดดิงเป็นตัวสะท้อนแสง ทำให้แสงสามารถเดินทางไปจนถึงปลายทางได้โดยไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าใด ๆ และมีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลต่ำมาก ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงระดับกิกะบิตต่อวินาที อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งข้อมูลสูง มีความสามารถในการนำพาข้อมูลไปได้ในปริมาณมาก และสามารถส่งข้อมูลไปได้เป็นระยะทางไกลโดยมีความผิดพลาดน้อย จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคาร ระหว่างเมือง และถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก (backbone cable) เชื่อมโยงเครือข่ายหลักต่างๆ เข้าด้วยกัน

4image15

 

อ้างอิง

เนื้อหาประกอบและศึกษาเพิ่มเติม จาก : หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

รูปภาพประกอบและเพิ่มเติม จาก :   หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ, http://www.google.com และเว็บไซต์จากอินเทอร์เน็ต

ใบงาน การสร้างลิสต์รายการ

คำชี้แจง

  1. ให้นักเรียนสร้างเว็บเพจจำนวน 1 เว็บเพจ เรื่อง รูปแบบการรับ – ส่งข้อมูล
  2. กำหนดรูปแบบหน้ากระดาษ ข้อความ สีตัวอักษร และอื่น ๆ ตามต้องการ
  3. ใช้คำสั่งในการสร้างลิสต์รายการได้ทั้ง 2 แบบ คือ แบบเรียงลำดับ และแบบไม่เรียงลำดับ
  4. บันทึกงานใน Drive D:/htmlห้องของตัวเอง_เลขที่
  5. บันทึกเว็บเพจว่า list.html

h3

ใบงาน การจัดการข้อความ

คำชี้แจง

  1. ให้นักเรียนจัดรูปแบบเว็บเพจต่อไปนี้
  2. สร้างโฟลเดอร์ชื่อ html_ชั้น  เช่น  html501  ไว้ใน Drive D:
  3. สร้างโฟลเดอร์เก็บงาน ชื่อ format_ชั้น_เลขที่  เช่น  format_501_11  ไว้ในโฟลเดอร์ html501
  4. บันทึกเว็บเพจว่า format.html

f1

ใบงาน การจัดรูปแบบหน้าเอกสาร

คำชี้แจง

  1. ให้นักเรียนจัดรูปแบบเว็บเพจต่อไปนี้
  2. สร้างโฟลเดอร์ชื่อ html_ชั้น  เช่น  html501  ไว้ใน Drive D:
  3. สร้างโฟลเดอร์เก็บงาน ชื่อ format_ชั้น_เลขที่  เช่น  format_501_11  ไว้ในโฟลเดอร์ html501
  4. บันทึกเว็บเพจว่า formatpage.html

f1

 

ใบงาน ภาษา html และ xhtml

คำชี้แจง

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

คำถาม

  1. ภาษา html และ ภาษา xhtml คืออะไร มีความแตกต่างกันอย่างไร
  2. ข้อดี ข้อเสียของภาษา html และ ภาษา xhtml มีอะไรบ้าง
  3. โครงสร้างพื้นฐานของภาษา html ประกอบด้วยอะไรบ้าง แต่ละส่วนใช้สำหรับทำอะไร
  4. ทำไมต้องกำหนดกฎเกณฑ์พื้นฐานในการเขียนภาษา XHTML
  5. Document Type Definitions (DTD) ของ XHTML ประกอบด้วยอะไรบ้าง และมีการใช้งานอย่างไรบ้าง

ใบงาน หลักการออกแบบเว็บไซต์

คำชี้แจง

1. ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหา เรื่อง หลักการออกแบบเว็บไซต์

https://leaningcom.wordpress.com/

ตัวอย่าง

1. การกำหนดโครงสร้างของเว็บ

9

2. การกำหนดการเชื่อมโยงเว็บเพจ

10

3. การออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้าในเว็บไซต์

12

13

ใบงาน พื้นฐานการสร้างเว็บ

ใบงาน

คำสั่ง

  1. ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องลงในสมุด
  2. ศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม https://leaningcom.wordpress.com/
  3. ค้นหา และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต

คำถาม

  1. อินเทอร์เน็ต คืออะไร และมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไรบ้าง
  2. WWW, Website, Webpage, Homepage คืออะไร
  3. เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Webserver) และ เว็บโฮสติง (Web Hosting) แตกต่างกันอย่างไร
  4. ทำไมต้องมีการกำหนดชื่อโดเมนขึ้นมาใช้งาน
  5. ให้อธิบายที่อยู่เว็บต่อไปนี้  http://www.tat.or.th