การสร้างตาราง

การใช้ตารางเหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลจำนวนมาก โดยตารางสามารถใช้งานได้หลายแบบตั้งแต่ใช้เป็นตารางธรรมดาเพื่อแสดงค่าตัวเลขทางสถิติหรือตัวเลขที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการใช้ตารางนำเสนอข้อมูลแบบนี้ทำให้เห็นการเปรียบเทียบที่ชัดเจน และการประยุกต์ใช้ตารางกับข้อมูลประเภทอื่นๆ เช่น ข้อความ หรือรูปภาพเพื่อช่วยออกแบบโฮมเพจ (เว็บเพจหน้าแรก) ซึ่งตารางสามารถจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วนและอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้

1. โครงสร้างของตาราง

<table>
<caption>………</caption>
<tr>
<th>………</th>
<th>………</th>
</tr>
<tr>
<td>………</td>
<td>………</td>
</tr>
<tr>
<td>………</td>
<td>………</td>
</tr>
</table>

  • <table> กำหนดการสร้างตาราง และมีคำสั่งปิดคือ </table>
  • <caption> เป็นการกำหนดคำ หรือข้อความอธิบายตาราง และมีคำสั่งปิดคือ </caption>
  • <tr> (Table Row) เป็นการกำหนดแถวของตารางในแนวนอน และมีคำสั่งปิดคือ </tr>
  • <th> (Table Head) เป็นการกำหนดหัวเรื่องในคอลัมน์ และมีคำสั่งปิดคือ </th>
  • <td> (Table Data) เป็นการกำหนดข้อมูลในตาราง และมีคำสั่งปิดคือ </td>

 

คุณสมบัติของตาราง <table>

แอตทริบิวต์ คุณสมบัติ
align= “align-type” กำหนดตำแหน่งตาราง โดย
left=กำหนดตารางให้อยู่ทางซ้าย
center = กำหนดตารางให้อยู่กึ่งกลาง
right=กำหนดตารางให้อยู่ทางขวา
background=“url” ใส่ภาพกราฟิก เป็นพื้นหลังตาราง โดย url เป็น ตำแหน่งภาพ
bgcolor=“n” กำหนดสีพื้นหลังให้ตาราง โดย n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
border=“n” กำหนดเส้นขอบตาราง โดย n เป็นค่าความหนาของขอบตาราง
bordercolor=“n” กำหนดสี ให้ขอบตาราง โดยสัมพันธ์กับ BORDER ซึ่ง n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
cellpadding=“n” กำหนดระยะห่างระหว่างตัวหนังสือและเส้นแบ่งตาราง โดย n เป็นค่าระยะห่าง
cellspacing=“n” กำหนดขนาดความห่างของซ่องเซลล์  โดย n เป็นขนาดของความห่าง
width=“n” กำหนดความกว้างของตาราง เป็นตัวเลขและเป็น %
height=“n” กำหนดความสูงของตารางเป็นตัวเลขและเป็น %

 

คุณสมบัติของแท็ก <tr>

แอตทริบิวต์ คุณสมบัติ
align= “align-type” กำหนดตำแหน่งตาราง โดย
left=กำหนดตารางให้อยู่ทางซ้าย
center = กำหนดตารางให้อยู่กึ่งกลาง
right=กำหนดตารางให้อยู่ทางขวา
background=“url” ใส่ภาพกราฟิก เป็นพื้นหลังตาราง โดย url เป็น ตำแหน่งภาพ
bgcolor=“n” กำหนดสีพื้นหลังให้ตาราง โดย n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
bordercolor=“n” กำหนดสี ให้ขอบตาราง โดยสัมพันธ์กับ BORDER ซึ่ง n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
valign=“align-type” จัดตำแหน่งข้อมูลในแนวตั้ง โดย
top= จัดอยู่ข้างบน
middle = จัดอยู่ตรงกลาง
bottom= จัดอยู่ข้างล่าง

 

คุณสมบัติของแท็ก <th>

แอตทริบิวต์ คุณสมบัติ
align= “align-type” กำหนดตำแหน่งตาราง โดย
left=กำหนดตารางให้อยู่ทางซ้าย
center = กำหนดตารางให้อยู่กึ่งกลาง
right=กำหนดตารางให้อยู่ทางขวา
background=“url” ใส่ภาพกราฟิก เป็นพื้นหลังตาราง โดย url เป็น ตำแหน่งภาพ
bgcolor=“n” กำหนดสีพื้นหลังให้ตาราง โดย n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
bordercolor=“n” กำหนดสี ให้ขอบตาราง โดยสัมพันธ์กับ BORDER ซึ่ง n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
colspan=“n” ปรับขนาดของคอลัมน์ให้มีขนาดเป็นเท่าของความกว้างปกติ สูงสุดเท่ากับจำนวนคอลัมน์ที่มี โดย n คือ ค่าตัวเลขของคอลัมน์
rowspan=“n” ปรับขนาดความสูงของแถวในตารางเป็นเท่าของแถวปกติ สูงสุดเท่ากับ จำนวนแถวที่มี โดย n คือ ค่าตัวเลขของแถว
valign=“align-type” จัดตำแหน่งข้อมูลในแนวตั้ง โดย
top= จัดอยู่ข้างบน  middle = จัดอยู่ตรงกลาง  bottom= จัดอยู่ข้างล่าง

 

คุณสมบัติของแท็ก <td>

แอตทริบิวต์ คุณสมบัติ
align= “align-type” กำหนดตำแหน่งตาราง โดย
left=กำหนดตารางให้อยู่ทางซ้าย
center = กำหนดตารางให้อยู่กึ่งกลาง
right=กำหนดตารางให้อยู่ทางขวา
background=“url” ใส่ภาพกราฟิก เป็นพื้นหลังตาราง โดย url เป็น ตำแหน่งภาพ
bgcolor=“n” กำหนดสีพื้นหลังให้ตาราง โดย n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
bordercolor=“n” กำหนดสี ให้ขอบตาราง โดยสัมพันธ์กับ BORDER ซึ่ง n คือ #รหัสสี หรือชื่อสี
colspan=“n” ปรับขนาดของคอลัมน์ให้มีขนาดเป็นเท่าของความกว้างปกติ สูงสุดเท่ากับจำนวนคอลัมน์ที่มี โดย n คือ ค่าตัวเลขของคอลัมน์
rowspan=“n” ปรับขนาดความสูงของแถวในตารางเป็นเท่าของแถวปกติ สูงสุดเท่ากับ จำนวนแถวที่มี โดย n คือ ค่าตัวเลขของแถว
valign=“align-type” จัจัดตำแหน่งข้อมูลในแนวตั้ง โดย
top= จัดอยู่ข้างบน  middle = จัดอยู่ตรงกลาง  bottom= จัดอยู่ข้างล่าง

 

2. การสร้างตาราง

ชื่อแท็ก                              table, tr, td
ตำแหน่งของแท็ก            table อยู่ภายในแท็ก <body>…</body>
tr อยู่ภายในแท็ก <table>…</table>
td อยู่ภายในแท็ก <tr>…</tr>
รูปแบบแท็ก HTML
          <table>
<tr><td>ข้อมูล</td><td>ข้อมูล</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล</td><td>ข้อมูล</td></tr>

<table>

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
<body>
<table>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

1

3. การใส่หัวเรื่อง <th> และตีเส้นตาราง

รูปแบบแท็ก HTML  (การใส่หัวเรื่อง)    
<tr><th>หัวข้อ1</th><th>หัวข้อ2</th></tr>

รูปแบบแท็ก HTML  (การตีเส้นตาราง)     

<table border=“ความหนาของเส้น”>

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″>
<tr><th>หัวข้อ1</th><th>หัวข้อ2</th></tr>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

2

4. การกำหนดข้อความกำกับให้กับตาราง

รูปแบบแท็ก HTML    <caption align=“ตำแหน่ง”>ข้อความกำกับ</caption>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ตำแหน่งของข้อความกำกับ ได้แก่ top (กลางบน), bottom (กลางล่าง), left (ซ้ายบน), right (ขวาบน)

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″>
<caption align=”top”>ตารางแสดงการกำหนดข้อความกำกับตาราง</caption>
<tr><th>หัวข้อ1</th><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><th>หัวข้อ2</th><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

4

5. การปรับความห่างและการเว้นระยะระหว่างข้อมูลในเซลล์กับกรอบเซลล์

รูปแบบแท็ก HTML    <table cellspacing=“ความห่าง”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ขนาดเป็นพิกเซล (pixels) เช่น 5, 7, 10

รูปแบบแท็ก HTML    <table cellpadding=“ระยะที่ต้องการเว้น”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ขนาดเป็นพิกเซล (pixels) เช่น 5, 7, 10

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ cellspacing=”0″ cellspacing=”0″>
<tr><th>หัวข้อ1</th><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><th>หัวข้อ2</th><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

t3

6. การปรับความกว้างและความสูงของตาราง

รูปแบบแท็ก HTML    <table width=“ความกว้าง” height=“ความสูง”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ขนาดเป็นพิกเซล (pixels) เช่น 5, 7, 10 หรือ %

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ width=”50%” height=”50%”>
<tr><th>หัวข้อ1</th><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><th>หัวข้อ2</th><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

7

7. การปรับขนาดช่องเซลล์

หากเราต้องการปรับขนาดช่องเซลล์จากปกติ 1 ช่อง ที่มีขนาด 1 แถว 1 คอลัมน์เป็นแบบ 1 แถว 3 คอลัมน์ เราก็สามารถทำได้ดังนี้

รูปแบบแท็ก HTML     <td colspan=“จำนวนคอลัมน์ที่ต้องการขยาย”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้           จำนวนคอลัมน์ที่ต้องการขยาย

ตัวอย่างการขยายเซลล์เกิน 1 คอลัมน์

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ width=”50%” height=”50%”>
<tr><td colspan=”2″>ข้อมูล1</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

8

รูปแบบแท็ก HTML      <td rowspan=“จำนวนแถวที่ต้องการขยาย”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้             จำนวนแถวที่ต้องการขยาย

ตัวอย่างการขยายเซลล์เกิน 1 แถว

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ width=”50%” height=”50%”>
<tr><td rowspan=”2″>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

9

8. การใส่สีในช่องเซลล์

รูปแบบแท็ก HTML   bgcolor=“ชื่อสี/#รหัสสี”
ค่าที่กำหนดให้ใช้          สีที่กำหนดเป็นสีพื้นฐานหรือเลขฐาน 16

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ bgcolor=”pink”>
<tr bgcolor=”yellow”><th>หัวเรื่อง1</th><th>หัวเรื่อง2</th></tr>
<tr><td bgcolor=”sky blue”>ข้อมูล1</td><td bgcolor=”white”>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

10

9. การกำหนดสีกรอบตาราง

รูปแบบแท็ก HTML     bordercolor=“ชื่อสี/#รหัสสี”
ค่าที่กำหนดให้ใช้            สีที่กำหนดเป็นสีพื้นฐานหรือเลขฐาน 16

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ bordercolor=”blue”>
<tr><th>หัวเรื่อง1</th><th>หัวเรื่อง2</th></tr>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

11

10. การใส่รูปภาพพื้นหลังตาราง

รูปแบบแท็ก HTML     background=“ตำแหน่งรูปภาพ”
ค่าที่กำหนดให้ใช้           ชื่อตำแหน่งและไฟล์รูปภาพ

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ bordercolor=”blue” background=”pic/background-31.jpg”>
<tr><th>หัวเรื่อง1</th><th>หัวเรื่อง2</th></tr>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

12

11. การจัดตำแหน่งตาราง แถว และคอลัมน์

รูปแบบแท็ก HTML    <table align=“ตำแหน่งของข้อมูล” >, <tr align=”ตำแหน่งของข้อมูล”>, <td align=”ตำแหน่งของข้อมูล”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้           ตำแหน่งของข้อมูล ได้แก่ center (กลาง), left (ซ้าย), right (ขวา) และ justify (เต็มช่อง)

ตัวอย่างการจัดตำแหน่งข้อมูลแนวนอน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table width=”40%” border=”1″ align=”center”>
<tr align=”center”><th>หัวเรื่อง1</th><th>หัวเรื่อง2</th></tr>
<tr align=”center”><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr align=”center”><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

t7

รูปแบบแท็ก HTML    <td vlign=“ตำแหน่งของข้อมูล”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ตำแหน่งของข้อมูล ได้แก่ baseline (ตามเส้นฐาน), bottom (ชิดล่าง), middle (กลาง) และ top (ชิดบน), right (ขวา) และ justifty (เต็มช่อง)

ตัวอย่างการจัดตำแหน่งข้อมูลแนวตั้ง

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table width=”100%” height=”50%” border=”2″>
<tr>
<td valign=”baseline”>Baseline</td>
<td valign=”top”>top</td>
<td valign=”middle”>middle</td>
<td valign=”bottom”>bottom</td>
</tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

15

12. การกำหนดการแสดงเส้นตาราง

เป็นการกำหนดให้แสดงเส้นตารางบางด้านเพื่อความเหมาะสมสำหรับการแสดงข้อมูล เช่น ต้องการแสดงเส้นเฉพาะคอลัมน์

รูปแบบแท็ก HTML      <table frame=“ตัวเลือก” rules=“ตัวเลือก”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้            กำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงเส้นขอบตาราง

ตัวเลือกของแอตทริบิวต์  frame ประกอบด้วย

คำสั่ง รายละเอียด   คำสั่ง รายละเอียด
Above แสดงเฉพาะด้านบนของช่องเซลล์ Ins แสดงเฉพาะด้านซ้ายของช่องเซลล์
Below แสดงเฉพาะด้านล่างของช่องเซลล์ Rhs แสดงเฉพาะด้านขวาของช่องเซลล์
Border แสดงเส้นทุกด้าน Void ไม่มีเส้นกรอบ
box แสดงเส้นทุกด้าน vsides แสดงเส้นแนวตั้งทุกเส้น
hsides แสดงเส้นแนวนอนทุกเส้น

ตัวเลือกของแอตทริบิวต์ rules ประกอบด้วย

คำสั่ง รายละเอียด
all แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์ทุกเส้น
cols แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์เฉพาะเส้นแนวคอลัมน์ (แนวตั้ง)
groups แสดงเฉพาะเส้นแบ่งกลุ่มเซลล์ที่เกิดจากแท็ก thead, tbody, tfoot หรือ colgroup
none ไม่แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์
rows แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์เฉพาะเส้นแนวแถว (แนวนอน)

ตัวอย่างการเปิด/ปิดเส้นตาราง

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table frame=”border” rules=”rows” border=”1″>
<thead><td>หัวเรื่อง1</td><td>หัวเรื่อง2</td></thead>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tfoot><td>ส่วนล่าง1</td><td>ส่วนล่าง</td></tfoot>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

13

13. การสร้างตารางซ้อนตาราง

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ bordercolor=”pink”>
<tr align=”center”><td colspan=”2″>การสร้างตารางซ้อนตาราง</td></tr>
<td><table border=”1″ bordercolor=”green” align=”center”>
<tr align=”center”><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr>
</table></td>
<tr align=”center”><td colspan=”2″>ข้อมูล5</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

16

14. การใส่รูปภาพในตาราง

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<b>การแทรกรูปภาพในตาราง</b><br />
<table border=”1″ bordercolor=”pink”>
<tr><td><img src=”pic/146.gif” /></td>
<td><img src=”pic/178.gif” /></td></tr>
</table>
</body>
</html>

17

15. การกำหนดความกว้างของคอลัมน์

รูปแบบแท็ก HTML    <colgroup span=“จำนวน” width=“ความกว้าง”>…</colgroup>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          span จำนวนคอลัมน์ที่ใช้กำหนดความกว้าง
width ความกว้างของคอลัมน์มีหน่วยเป็น % หรือพิกเซล

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″>
<colgroup span=”2″ width=”150″></colgroup>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td><td>ข้อมูล3</td>
<td>ข้อมูล4</td><td>ข้อมูล5</td><td>ข้อมูล6</td></tr>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

18

16. การกำหนดความกว้างแต่ละคอลัมน์

รูปแบบแท็ก                    <col span=“จำนวน” width=“ความกว้าง” />
ค่าที่กำหนดให้ใช้          span จำนวนคอลัมน์ที่ใช้กำหนดความกว้าง
width ความกว้างของคอลัมน์มีหน่วยเป็น % หรือพิกเซล

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″>
<colgroup>
<col span=”2″ width=”100″ />
<col span=”2″ width=”80″ />
<col span=”2″ width=”50″ />
</colgroup>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td><td>ข้อมูล3</td>
<td>ข้อมูล4</td><td>ข้อมูล5</td><td>ข้อมูล6</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล7</td><td>ข้อมูล8</td><td>ข้อมูล9</td>
<td>ข้อมูล10</td><td>ข้อมูล11</td><td>ข้อมูล12</td></tr>
</table>
</body>
</html>

19

คำอธิบาย
จากตัวอย่างมีการใส่แท็ก col อยู่ด้วย 3 ที ซึ่งแต่ละที่มีความหมาย ดังนี้

  • <col span=“2” width=“100” /> หมายถึง คอลัมน์ที่ 1-2 กำหนดขนาด 100 พิกเซล
  • <col span=“2” width=“80” /> หมายถึง คอลัมน์ที่ 3-4 กำหนดขนาด 80 พิกเซล
  • <col span=“2” width=“50” /> หมายถึง คอลัมน์ที่ 5-6 กำหนดขนาด 50 พิกเซล

 

17. การแบ่งเส้นตาราง <thead>, <tfoot>, <tbody>

การแบ่งส่วนตาราง เราสามารถทำได้ 3 ส่วนคือ

  • แท็ก thead (Table Header) ส่วนของหัวตาราง
  • แท็ก tbody (Table Body) ส่วนของข้อมูลในตาราง
  • แท็ก tfoot (Table Footer) ส่วนของสรุปรวมข้อมูลในตาราง

โดยทั้งสามส่วนเราไม่ต้องเรียงลำดับกันก็ได้ เช่น อาจวางแท็ก tfoot มาก่อนแท็ก tbody ก็ได้ แต่ตอนแสดงผลบราวเซอร์จะจัดแท็ก tfoot ไว้ข้างล่างสุด

ลักษณะของแท็กทั้ง 3 ประการจะเป็นดังนี้

รูปแบบแท็ก HTML  <thead><tr><td>…</td></tr></thead>
<tbody><tr><td>…</td></tr></tbody>
<tfoot><tr><td>…</td></tr></tfoot>

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การสร้างตาราง</title>
</head>
<body>
<table border=”1″ width=”30%”>
<thead bgcolor=”#6699FF”>
<tr><td>ส่วนหัว1</td><td>ส่วนหัว2</td></tr></thead>
<thead bgcolor=”#00FFFF”>
<tr><td>ข้อมูล1</td><td>ข้อมูล2</td></tr>
<tr><td>ข้อมูล3</td><td>ข้อมูล4</td></tr></tbody>
<tfoot bgcolor=”EEEEEE”>
<tr><td>ส่วนล่าง1</td><td>ส่วนล่าง2</td></tr></tfoot>
</table>
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

20

การแบ่งตารางเป็นส่วน ๆ ทำให้สามารถจัดรูปแบบ ตกแต่งตารางได้ง่าย โดยสามารถกำหนดรูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร สีพื้นหลัง ฯลฯ โดยจะทำให้ข้อมูลส่วนนั้นแสดงผลทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถกำหนดรูปแบบการแสดงผลข้อมูลได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย

 

อ้างอิง

  • รูปภาพจากอิดิเตอร์ Notepad
  • รูปภาพประกอบสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
  • การสร้างเว็บและเพิ่มลูกเล่นด้วย HTML และ XHTML เขียนโดย นายประชา  พฤกษ์ประเสริฐ  สำนักพิมพ์ซิมพลิฟาย

ตัวอย่างการติดตั้งแลนภายในบ้าน

การติดตั้งแลนภายในบ้านอย่างง่าย  สามารถทำได้โดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเข้าด้วยกันโดยผ่าน สวิตซ์  และทำการปรับตั้งค่าของโพรโทคอลการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง เช่น อยู่ไอพีของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ และถ้าต้องการเชื่อมต่อแลนดังกล่าวเข้ากับอินเตอร์เน็ต  จะต้องทำการเชื่อมต่อสวิตซ์เข้ากับอุปกรณ์จัดเส้นทาง จากนั้นผู้ใช้งานจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเส้นทางเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ โดยขอใช้บริการจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

4image45

จากรูปแสดงตัวอย่างระบบเครือข่ายในบ้านที่ประกอบไปด้วย อุปกรณ์รับสัญญาณและเชื่อม ต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบดีเอสแอล  ชนิดดีเอสแอลโมเด็ม (Asymmetric  Digital Subscriber line: ADSL  modem)  จากนั้นผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเส้นทางและสวิตซ์เพื่อขยายและเพิ่ม จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่จะต่อพ่วงภายในบ้านหรือสำนักงานได้ เอง  และเนื่องจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร  ทำให้ในปัจจุบันได้มีการรวมเอาอุปกรณ์จัดเส้นทาง เอดีเอสแอลโมเด็ม  สวิตซ์  และจุดเชื่อมต่อแบบไร้สายเข้าด้วยกัน เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้

อ้างอิง

เนื้อหาและรูปภาพ จาก : หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  จัดทำโดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ

การเชื่อมโยงเว็บเพจ (Link)

การสร้างลิงค์จะทำให้เอกสารเว็บเพจธรรมดากลายเป็นเว็บเพจที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจโดยผ่านการคลิกเลือกดูเนื้อหาในแต่ละหน้าที่น่าสนใจ

การสร้างลิงค์
ลิงค์สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ วิธี คือ

  • การเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บหน้าเดียวกัน
  • การเชื่อมโยงข้อมูลในเว็บเพจหน้าอื่น
  • การเชื่อมโยงข้อมูลไปเว็บไซต์อื่น

1. การเชื่อมโยงข้อมูลภายในเว็บเพจเดียวกัน

คือ การเชื่อมโยงข้อมูลในหน้าเว็บเพจเดียวกัน โดยการคลิกลิงค์เพื่อเลื่อนขึ้นหรือลง หรือไปตำแหน่งที่ต้องการภายในหน้าเดียวกัน

รูปแบบของแท็ก HTML        
<a href=”jump”>…</a> (สร้างจุดปลายทางชื่อ jump)
<a href=”#jump”>…</a> (เชื่อมโยงไปจุดปลายทางชื่อ jump)
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ชื่อจุดหมายปลายทาง ที่ไม่ซ้ำชื่ออื่นที่อยู่ในหน้าเว็บเดียวกัน

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การเชื่อมโยงเว็บเพจหน้าเดียวกัน</title>
</head>
<body>
<b>รายชื่อเว็บไซต์ที่น่าสนใจ</b>
<!—กำหนด Link กระโดดไปยังจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ ในเว็บเพจ—><br />
<a href=”#computer”>เว็บไซต์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์</a><br />
<a href=”#graphic”>เว็บไซต์เกี่ยวกับงานกราฟิก</a><br />
<a href=”#travel”>เว็บไซต์เกี่ยวกับท่องเที่ยว</a><br />
<hr>
<!—กำหนดจุดเชื่อม—>
<a name=”computer”>เว็บไซต์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์</a><br />
<a name=”graphic”>เว็บไซต์เกี่ยวกับงานกราฟิก</a><br />
<a name=”travel”>เว็บไซต์เกี่ยวกับท่องเที่ยว</a><br />
</body>
</html>

 

2. การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บเพจอื่นภายในเว็บไซต์เดียวกัน

คือ การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน้าเว็บเพจอื่นที่อยู่เว็บไซต์เดียวกัน เพื่อให้สามารถเลือกดูเนื้อหาตามลิงค์ของเรื่องที่ต้องการเยี่ยมชม

รูปแบบของแท็ก HTML        
<a href=“ชื่อเว็บเพจที่ต้องการเชื่อมโยง”>เรื่องที่จะเป็นจุดเชื่อมโยง</a>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ชื่อเว็บเพจที่เชื่อมโยงจะเป็นชื่อภาษาอังกฤษ.html

ตัวอย่างการเชื่อมโยงเว็บเพจกับหน้าอื่น

l1

  • หน้าแรกของเว็บเพจ หรือ โฮมเพจ จะมีเนื้อหา 2 เรื่อง คือ งานสวนทิวลิปนนท์ จะลิงค์ไปยังหน้า tulip.htmlและ งานธันวาพฤกษชาติ ครั้งที่ 11จะลิงค์ไปยังหน้า tanwa.html
  • หน้าเว็บเพจงานสวนทิวลิปนนท์ จะลิงค์กลับมาที่แรกของเว็บ คือ index.htmlและ งานธันวาพฤกษชาติ จะลิงค์กลับมาที่แรกของเว็บ คือ index.html

ตัวอย่างการเขียนคำสั่งเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังเว็บเพจอื่น

<html>
<head>
<title>ตัวอย่างการเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังเว็บเพจหน้าอื่น</title>
</head>
<body>

<a href=“tulip.html”>งานสวนทิวลิปนนท์</a>

<a href=“tanwa.html”>งานธันวาพฤกษชาติ</a>

</body>
</html>

ทำความเข้าใจ

  • การเชื่อมโยงเว็บเพจแบบ Relative Path Names ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในการอ้างอิงไฟล์เว็บเพจ ไฟล์เอกสาร ไฟล์ให้ดาวน์โหลดที่เก็บในเว็บไซต์เดียวกัน
  • การเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังเว็บเพจอื่นในไดเรกทอรีเดียวกันจะสามารถเชื่อมโยงโดยใช้แท็ก  <a href…> โดยพิมพ์ชื่อเว็บเพจที่ต้องการลงไป

เช่น<a href=“history.html”>ประวัติของโรงเรียน</a>

  • หากต้องการเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังไดเรกทอรีที่ต่ำกว่า เราสามารถใช้ <a href…> แล้วอ้างอิงตำแหน่งของเว็บปลายทางตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายทาง

<a href=“person/thai.html”>กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย</a>

โดยเราจะใส่ชื่อไดเรกทอรีและคั่นด้วยเครื่องหมาย “/” ตามด้วยไฟล์ที่เราต้องการเชื่อมโยง หากมีหลายชั้นเราก็ต้องกำหนดไดเรกทอรีให้ครบ หากอ้างอิงไม่ครบหรือระบุผิดจะทำให้ทำงานผิดพลาด

  • หากต้องการเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังปลายทางที่อยู่ในไดเรกทอรีที่อยู่เหนือกว่า 1 ระดับจะมีวิธีการกำหนดคือ <a href=“../person.html”>บุคลากรของโรงเรียน</a>
  • หากต้องการเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังปลายทางที่อยู่ในไดเรกทอรีที่อยู่เหนือกว่า 2 ระดับจะมีวิธีการกำหนดคือ <a href=“../../person.html”>บุคลากรของโรงเรียน</a>

 

3. การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์ที่อื่น

คือ การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องหรือน่าสนใจ โดยวิธีการระบุ URL ของเว็บไซต์นั้นในแท็ก <a href…>

รูปแบบการใช้งาน

รูปแบบ  <a href= “URL ของเว็บไซต์ที่ต้องการเชื่อมโยง”>ข้อความที่จะเชื่อมโยง</a>

เช่น <a href=http://www.swt.ac.th>โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม</a>

ตัวอย่างการใช้งาน

<html>
<head>
<title>การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์</title>
<body>
<b>เว็บไซต์ที่น่าสนใจ</b><br />
<a href=”http://www.google.com”>google</a><br />
<a href=”http://www.sanook.com”>sanook</a><br />
<a href=”http://www.pantip.com”>pantip</a><br />
</body>
</html>

ผลลัพธ์ที่ได้

4

เราสามารถเปิด URL ในเว็บบราวเซอร์ใหม่ โดยใช้คำสั่งว่า target=“_blank” ลงไปหลัง URL

<a href=“http://www.swt.ac.th” target=“_blank”>โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม</a>

 

4. การเชื่อมโยงด้วยรูปภาพ

การใช้รูปภาพเป็นจุดเชื่อมโยง เป็นการทำให้เว็บเพจน่าสนใจและสามารถใช้แทนข้อความธรรมดาได้

รูปแบบของแท็ก             <img src= “ตำแหน่งของรูปภาพ/รูปภาพที่ใช้”>
ค่าที่กำหนดให้ใช้          ชื่อรูปภาพที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมโยง

ตัวอย่างการเชื่อมโยงเว็บไซต์ด้วยรูปภาพ

<html>
<head>
<title>การเชื่อมโยงเว็บไซต์ด้วยรูปภาพ</title>
<body>
<b>เว็บไซต์ที่น่าสนใจ</b><br />
<a href=”http://www.google.com”><img src=”pic/google.jpg” /></a><br />
<a href=”http://www.sanook.com”><img src=”pic/sanook.jpg” /></a><br />
<a href=”http://www.pantip.com”><img src=”pic/pantip.jpg” /></a><br />
</body>
</html>

5

 

5. การเชื่อมโยงไปยังไฟล์ต่าง ๆ

เป็นการเชื่อมโยงไปยังไฟล์ต่าง ๆ  เช่น ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์วีดีโอ, ไฟล์โปรแกรม, ไฟล์เสียง, ไฟล์ .zip,  และไฟล์มัลติมีเดีย ซึ่งการเชื่อมโยงจะเหมือนการลิงค์แบบธรรมดา เพียงแต่ระบุปลายทางไปยังไฟล์นั้น ๆ โดยและระบุนามสกุล หากเป็นไฟล์รูปภาพจะแสดงอัตโนมัติ แต่ถ้าเป็นไฟล์อื่น ๆ จะขึ้นหน้าจอให้เราบันทึกและดาวน์โหลดเอกสาร

รูปแบบ  <a href=“ชื่อโฟลเดอร์ หรือไดเรกทอรี/ชื่อไฟล์ที่ต้องการลิงค์”>ข้อความที่จะเชื่อมโยง</a>

l2

 

6. การเชื่อมโยงไปอีเมล์ (E-mail)

ใช้ในกรณีที่ต้องการให้คนอื่นติดต่อเรา โดยให้สร้างลิงค์ชี้ไปยังอีเมล์แอดเดรสของเรา เมื่อผู้ใช้คลิกที่ลิงค์จะส่งไปยังอีเมล์ของเราโดยอัตโนมัติ

รูปแบบ  <a href=“mailto: ชื่อ E-mail Adree”>ข้อความที่เป็นลิงค์</a>

ตัวอย่างการลิงค์ไปยังไฟล์ต่าง ๆ

<html>
<head>
<title>การเชื่อมโยงเว็บไซต์ด้วยรูปภาพ</title>
<body>
<a href=”mailto:piyadanai_w@hotmail.com”>ติดต่อผู้จัดทำ</a>
</body>
</html>

10

 

นอกจากนี้เรายังสามารถลิงค์ไปยังบริการต่าง ๆ ได้ เช่น การโอนย้ายไฟล์ โดยใช้คำสั่ง

<a href=ftp://ที่อยู่ของ Address ที่ต้องการลิงค์>

 

7. การกำหนดสีของลิงค์

ปกติหากเราไม่กำหนดค่าสีของลิงค์ ค่าปกติคือสีน้ำเงินและมีเส้นใต้ การเปลี่ยนสีลิงค์เป็นการเปลี่ยนสีสันของลิงค์ให้มีสีต่าง ๆ เพื่อให้สังเกตง่าย ๆ ซึ่งสีของลิงค์จะมีสถานะต่าง ๆ แตกต่างกัน ดังนี้

  • สีของลิงค์ที่ยังไม่เคยถูกคลิก (Hyperlink)
  • สีของลิงค์ที่เคยถูกคลิกไปแล้ว (Visited Hyperlink)
  • สีของลิงค์ตอนที่ถูกคลิก (Active Link)

เพื่อป้องกันไม่ให้สีของลิงค์กลืนสีฉากหลัง เราสามารถกำหนดสีของลิงค์ในสถานะต่าง ๆ ได้ ดังนี้

รูปแบบแท็ก HTML และ XHTML
          <body link=“สี/รหัสสี” vlink=“สี/รหัสสี” alink=“สี/รหัสสี”>

ตัวอย่างการกำหนดสีของลิงค์

<html>
<head>
<title>ตัวอย่างการเชื่อมโยงเว็บเพจไปยังเว็บเพจหน้าอื่น</title>
</head>
<body link=”green” vlink=”blue” alink=”red”>
<a href=“tulip.html”>งานสวนทิวลิปนนท์</a><br />
<a href=“tanwa.html”>งานธันวาพฤกษชาติ</a>
</body>
</html>

11

 

อ้างอิง

  • รูปภาพจากอิดิเตอร์ Notepad
  • รูปภาพประกอบสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต
  • การสร้างเว็บและเพิ่มลูกเล่นด้วย HTML และ XHTML เขียนโดย นายประชา  พฤกษ์ประเสริฐ  สำนักพิมพ์ซิมพลิฟาย